
ชุดทดลองเครื่องรับ- ส่งวิทยุ AM ( Experimental Set of AM Receiver /Transmitter) สร้าง
โดย นายกิตติพงศ์ นวลใย และนาย อภิรักษ์ ธิตินฤมิต มี ผศ.ดร.สมศักดิ์ อรรคทิมากูล เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อสร้างชุดทดลองเครื่องรับ- ส่ง 4 ชุด คือ ชุดทดลองมอดูเลตเชิงขนาด ชุดการส่งสัญญาณวิทยุ ชุดการการรับสัญญาณวิทยุ ชุดดีมอดูเลต ซึ่งการดีมอดูเลตได้ 3 ความถี่ คือ 800 kHz, 11,00kHz, 14,00kHz สามารถเลือกสัญญาณความถี่ภายนอกได้ ส่วนเครื่องรับจะสามารถเลือกรับความถี่ได้ 3 ช่องความถี่เช่นกัน ส่วนระบบครื่องส่ง และเครื่องรับ จะส่งได้ในช่วงความถี่ 525-1605 kHz และ 625-1500 kHz ตามลำดับ และช่วยลดเวลาในการต่อวงจร รวมถึงความผิดพลาดในการต่อวงจร และการเกิดสัญญาณรบกวนจากการวางตำแหน่งของอุปกรณ์จึงทำให้เป็นอุปสรรคในการเรียนการสอน ซึ่งชุดทดลองนี้จะช่วยลดเวลาในการเรียนการสอน และได้ผลการทดลองที่ถูกต้อง ทำให้สามารถใช้เป็นชุดการเรียนการสอนได้
ผลการดำเนินงาน ชุดทดลองเรื่องเครื่องรับ- ส่งวิทยุ AM ซึ่งประกอบไปด้วย ชุดทดลองการมอดูเลตเชิงขนาด ชุดทดลองการส่งสัญญาณวิทยุ ชุดการทดลองการรับสัญญาณ วิทยุ AM ชุดทดลองการ ดีมอดูเลตและการขยายเสียง ซึ่งในส่วนการดีมอดูเลตมี 3 ความถี่ คือ 800 kHz, 11,00kHz, 14,00kHz สามารถเลือกสัญญาณความถี่ภายนอกได้ ส่วนเครื่องรับจะสามารถเลือกรับความถี่ได้ 3 ช่องความถี่เช่นกัน ส่วนระบบเครื่องส่ง และเครื่องรับ จะส่งได้ในช่วงความถี่ 525- 1605 kHz และ 625 -1500 kHz ตามลำดับ
การออกแบบและสร้างชุดทดลองเครื่องส่งระบบวิทยุ AM ประกอบด้วย ภาคออสซิลเลเตอร์ จะเป็นภาคที่ผลิตความถี่ออกมาเพื่อเป็นความถี่พาห์ ซึ่งในระบบเครื่องส่งนั้น ย่านที่ต้องการส่งคือ ย่าน AM 525-1605 kHz และแรงดันที่ 200 mVp-p เนื่องจากวงจรมอดูเลชั่น ที่ใช้เป็นวงจรการมอดูเลต โดยใช้สัญญาณขนาดเล็ก ภาคขยายสัญญาณเสียง ในภาคขยายสัญญาณเสียง จะทำหน้าที่ขยายสัญญาณเสียง ก่อนที่จะนำไปทำการมอดูเลตเพื่อให้สัญญาณที่เข้ามีขนาดแรงพอ โดยจะใช้ IC เบอร์ TA 7368 ซึ่งเป็น audio Power Amplifier โดยที่ VR 10 ต่อเพื่อใช้ปรับสัญญาณที่เข้าให้มีความแรงมากน้อยเพียงใด โดยที่วงจรใช้ไฟเลี้ยง 9 โวลต์
การออกแบบและจัดทำกล่องทดลองชุดทดลองมีทั้งหมด 4 กล่อง ซึ่งมีส่วนประกอบคือ แผ่นปริ้น ลายวงจร แผ่นสกีนลายวงจรทดลอง และกล่องทดลอง หลังจากที่ได้ออกแบบกล่องชุดทดลองตามแบบ โดยด้านหน้ากล่องที่สกรีนลายวงจรแต่ละอันจะมีแบบที่ต่างกัน แล้วนำมาประกอบกัน จึงนำมาทดสอบอีกครั้ง
สอบถามรายละเอียดได้ที่ ภาควิชาภาควิชาครุศาสตร์ไฟฟ้า คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 1518 ถ.พิบูลสงคราม บางซื่อ กรุงเทพฯ 10800
โทรศัพท์ 0-2585-8540-9 ต่อ 3301-3303