นายชลัท ธีรฐิตยางกูร และ นางสาวรุ่งทิพย์ สิริมิตตานนท์ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ภาควิชาเคมีอุตสาหกรรม |
คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เจ้าของผลงาน เส้นใยนาโนสำหรับการใช้ |
งานเป็นโครงเลี้ยงเซลล์ (Nanofibers for scaffold) อาจารย์ที่ปรึกษารองศาสตราจารย์ ดร. นพวรรณ ชนัญพานิช ระยะเวลาการ |
วิจัย 1 ปี โดยได้รับทุนอุดหนุนจากคณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ และ รางวัลนวัตกรรมเทคโนโลยี ประเภทนักศึกษาด้านงานวิจัยจาก |
สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปี 2552 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ |
วัตถุประสงค์ เพื่อผลิตโครงเลี้ยงเซลล์ประเภทเส้นใยนาโนจากเทคนิคการปั่นเส้นใยด้วยไฟฟ้าสถิต (Electrospinning)โดย |
เทคนิคนี้เป็นเทคนิคที่สามารถผลิตเส้นใยที่มีขนาดเล็กระดับเส้นผ่านศูนย์กลางต่ำกว่า 1 ไมโครเมตร มีพื้นที่ผิวมากและขนาดเส้น |
ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นใยพอเหมาะที่เซลล์เนื้อเยื่อสามารถเกาะเพื่อการเจริญเติบโต นอกจากนี้ความเป็นรูพรุนของเส้น |
ใยค่อนข้างสูง ซึ่งมีประโยชน์ต่อการแพร่ของสารอาหารมายังเซลล์เนื้อเยื่อที่เกาะบนเส้นใย และการจัดเรียงตัวของเส้นใยเป็นแบบ 3 |
มิติคล้ายคลึงกับเส้นใยคอลลาเจนที่เป็นองค์ประกอบหลักของสารนอกเซลล์ (Extracellular matrix : ECM) ทำให้เซลล์เกาะและ |
เจริญเติบโตเป็นเนื้อเยื่อแบบ 3 มิติ ได้โครงเลี้ยงเซลล์ที่ผลิตจากเทคนิคนี้สามารถผลิตได้ง่าย มีราคาถูกมากเมื่อเทียบกับโครง |
เลี้ยงเซลล์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ และ คาดหวังว่านักวิจัยชีวการแพทย์สามารถนำโครงเลี้ยงเซลล์ไปใช้ในการวิจัยและพัฒนาด้าน |
วิศวกรรมเนื้อเยื่อของประเทศให้เจริญก้าวหน้าสู่สากล |
ลักษณะพิเศษของเส้นใยนาโนจะเป็นโครงเลี้ยงเซลล์เนื้อเยื่อประเภทเส้นใย รูปแบบผสมระหว่างเส้นใยแบบไม่ถักทอ (non- |
woven) กับเส้นใยแบบขนาน (alignment) และเป็นโครงเลี้ยงเซลล์เนื้อเยื่อ ผลิตจากโพลิไวนิลลิดีฟลูออไรด์ ซึ่งไม่มีงานวิจัยใด |
ผลิตใช้เพื่อวัตถุประสงค์นี้มาก่อน เนื่องจากโครงเลี้ยงเซลล์ที่มีใช้กันทั่วไปจะมีรูปแบบเป็นแบบไม่ถักทอ (Non-woven) และ แบบ |
แนวขนาน (Alignment) ซึ่งจะมีทั้งข้อดีและข้อเสียต่างๆ คือ ในการเตรียมเส้นใยแบบไม่ถักทอ จะสามารถฉีดเป็นผืนเส้นใยขนาด |
ใหญ่กว่าการเตรียมเส้นใยแบบแนวขนานที่ระยะเวลาในการผลิตเท่ากัน แต่ในการส่องเบื้องต้นเพื่อดูเซลล์ที่เกาะบนเส้นใยด้วยกล้อง |
Optical microscope โดยในรูปแบบไม่ถักทอจะเห็นเซลล์ที่เกาะบนเส้นใยไม่ชัดเจน ส่วนเส้นใยในรูปแบบแนวขนานจะเห็นเซลล์ |
ที่เกาะบนเส้นใยได้ชัดเจนมากกว่าเนื่องจากเส้นใยแบบนี้จะมีความใสมากกว่า |
อย่างไรก็ตามโครงเลี้ยงเซลล์ประเภทเส้นใยยังสามารถนำไปใช้เป็นตัวดูดซับโปรตีน ในการวิเคราะห์โปรตีนด้วยเทคนิค MA |
LDI-TOF Mass spectroscopy จากบริษัท Shimadzu เอเชียแปซิฟิค ประเทศสิงคโปร์ และยังสามารถนำไปใช้เป็นเมมเบรน |
ในงานด้าน Fuel cells ของมหาวิทยาลัยคิมยุง ประเทศเกาหลีใต้ อีกด้วย |
ขอขอบคุณ ศูนย์วิจัยบูรณาการนาโน สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนคร |
เหนือ และ รศ.ดร. สำรี มั่นเขตต์กรน์ หน่วยวิจัยเคมีฟิสิกส์ ชีววิทยาระดับเซลล์และโมเลกุล/ศูนย์วิจัย เพื่อความเป็นเลิศด้านการ |
สร้างภาพระดับโมเลกุล ภาควิชารังสีเทคนิค คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ได้ให้ความอนุเคราะห์สำหรับ |
การนำโครงเลี้ยงเซลล์นำไปศึกษาการเพาะเลี้ยงเซลล์มะเร็งลำไส้ นางสาวรุ่งทิพย์ กล่าวท้ายที่สุด |
|
ขวัญฤทัย ข่าว / ปราการ ภาพถ่าย |